Listerine Factory Renovation: เมื่อความสะอาดมันมาเกี่ยวกับการกันน้ำ

สวัสดีท่านสมาชิก BFM Club, FACEBOOK: Fan page ทุกท่าน กลับมาพบกันอีกแล้วครับ วันนี้ก็จั่วหัวมาให้ท่านสมาชิกงงกันเล่นๆอีกเหมือนทุกครั้งนะครับ ว่าการปรับปรุงโรงงาน Listerine ที่เน้นเรื่องความสะอาดมันมาเกี่ยวข้องกับเรื่องการป้องกันน้ำฝนเข้าสู่อาคารได้อย่างไร วันนี้เดี๋ยวเรามาเฉลยให้ฟังกันครับ เหตุมันเกิดขึ้นจากเหตุการณ์นี้ครับ หลายๆท่านคงทราบดีอยู่แล้วว่าโรงงาน Listerine เป็นโรงงานที่ผลิตน้ำยาบ้วนปากที่เป็นที่นิยมยี่ห้อหนึ่งในโลกเลยนะครับ ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องเป็นโรงงานที่มีความสะอาดสูงเพื่อป้องกันการเกิดการติดเชื้อลงไปในน้ำยาบ้วนปากที่ผลิต เพราะไม่อย่างนั้นจากน้ำยาบ้วนปากที่ช่วยป้องกันเชื้อโรค จะกลายเป็นน้ำยาเพาะเชื้อแทนน่ะครับ

เหตุการณ์ก็ดูเหมือนปกติดีอยู่ แต่จนแล้วก็เกิดสิ่งที่ผู้บริหารโรงงานไม่อยากให้เกิดขึ้น คือ เจ้าฟิลเตอร์พิเศษนี่ล่ะครับ กลับกลายเป็นสถานที่ก่อให้เกิดเชื้อโรค เพราะความละเอียดของมันทำให้เกิดการสะสมของน้ำเมื่อเกิดฝนตก เพราะช่องระบายอากาศจะต้องอยู่ภายนอกสุดของอาคารและดึงอากาศธรรมชาติเข้ามาในอาคาร ไม่ว่าจะเพื่อกระบวนการผลิตหรือเพื่อใช้สำหรับคนงานในโรงงาน พอฝนตกทุกครั้งเจ้าฟิลเตอร์นี่ก็กลายเป็นที่สะสมน้ำและความชื้น ผ่านไปไม่นานก็เกิดเชื้อราขึ้น แล้วก็โดนดึงเข้าสู่อาคารผ่านทางระบบพัดลมระบายอากาศ เป็นเช่นนี้อยู่ร่ำไป ทางโรงงานก็ต้องมีการเปลี่ยนฟิลเตอร์เหล่านี้อยู่เป็นประจำเพื่อลดการเกิดเชื้อรา แต่เมื่อพิจารณาลงไปลึกๆก็พบว่าจริงๆแล้วเจ้าตัวปัญหาไม่ได้อยู่ที่ฟิลเตอร์ แต่กลับกลายเป็น Louvreหรือเกล็ดระบายกากาศที่อยู่หน้าฟิลเตอร์ไปเสีย


ดั้งเดิมก่อนการมาถึงของ High Performance Louvre: COLT จากประเทศอังกฤษ เชื่อว่าหลายๆท่านคงคาดไม่ถึงว่าจะมีเกล็ดระบายอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงมากเพียงพอที่จะป้องกันน้ำฝนได้ 100% แต่ยังมีความสามารถในการระบายอากาศได้มากอยู่ จึงไม่ได้มีใครคำนึงถึงเรื่องนี้ และจำเป็นต้องใช้เกล็ดระบายอากาศที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดไปเท่าที่มี แล้วก็ตามไปแก้ปัญหาที่ตามอีกทอดหนึ่ง


แต่ในปัจจุบันนี้ระบบเกล็ดระบายอากาศประสิทธิภาพสูงนั้นมีจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทยของเราแล้ว จึงมีการพิจารณาเพื่อนำเอาเกล็ดระบายอากาศของ COLT เข้ามาแก้ปัญหาที่ไม่รู้จบเหล่านี้ โดยมีจุดที่ต้องคำนึง คือ ลดการสะสมของน้ำฝนที่เข้าสู่อาคารอย่างเด็ดขาดหรือให้ได้ระดับป้องกันน้ำฝน 100% แต่ยังคงต้องมีการระบายอากาศเข้าสู่อาคารได้ โดยการใช้ระบบพัดลมดึงอากาศเข้าสู่อาคาร ดังนั้นก็ต้องคำนึงถึงเรื่อง Pressure Drop ของเกล็ดระบายอากาศด้วยว่าเหมาะสมกับการใช้งานจริงหรือไม่


ผลจากการศึกษา โครงการจึงพิจารณาเกล็ดระบายอากาศประสิทธิภาพสูง รุ่น 3UL ของ Colt มาใช้ในโครงการเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราที่ฟิลเตอร์ดังที่เรียนไปในข้างต้น เนื่องจากความสามมารถในการป้องกันน้ำฝนได้ในระดับ Class A หรือ 100% และยังให้การระบายอากาศในประสิทธิภาพสูงเหมาะกับการใช้ระบบพัดลมเพื่อการระบายอากาศที่ Class 3 หรือมีค่าสัมประสิทธิ์การระบายอากาศที่มากที่สุด 0.299 ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งาน


ผลจากการติดตั้งเกล็ดระบายอากาศประสิทธิภาพสูงของ COLT แบบ 3UL จึงทำให้อาคารโรงงานที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นั้น มีค่าการระบายอากาศที่เพียงพอและไม่ก่อให้เกิดเชื้อราสะสมบริเวณฟิลเตอร์ นอกจากนั้นยังมีความลาดเอียงไม่เป็นที่สะสมของฝุ่นละออง และมีระบบเคลือบสีทันสมัยที่ให้ความทนทานต่อสภาพแวดล้อมแล้วยังสามารถทำความสะอาดได้ง่าย เป็นไปตามมาตรฐาน GMP อีกประการหนึ่งด้วย


เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับผลงานที่ผ่านมาที่นำมาแนะนำกันในฉบับนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านสมาชิกที่รักจะได้มีแนวทางในการเลือกใช้เกล็ดระบายอากาศประสิทธิภาพสูงของ COLT จากประเทศอังกฤษให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภทของท่านนะครับ โปรดอย่าลืมว่าเกล็ดระบายอากาศประสิทธิภาพสูงของ COLT นั้นออกแบบมาเพื่อให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภทของท่าน ทางเรามีรูปแบบการให้บริการเพื่อการแก้ไขปัญหาต่างๆของท่านให้หมดไปนะครับ ไม่ต้องกังวลเรื่องรุ่นที่มากมายจนเลือกใช้ไม่ถูกต้อง ติดต่อหาเราตามช่องทางที่ท่านสะดวก ทีมงานคุณภาพของเราพร้อมที่จะให้บริการด้านการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมกับท่านตามแนวคิด Solution Center ตลอดจนผลิตภัณฑ์อื่นๆของเราด้วยเช่นกันนะครับ ฉบับนี้ลาไปก่อน พบกันใหม่ฉบับหน้า 

สวัสดีครับ


โดย ศศิน “เต้ย ” วิบูลบัณฑิตยกิจ 

ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัท บี.เอฟ.เอ็มจำกัด


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่เอื้อเฟื้อข้อมูลบริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทยจำกัด 

เสนอแนะเพิ่มเติมได้ที่ sasin@bfm.co.th และพบช่องทางใหม่ที่เราจะติดต่อถึงกัน ผ่านทาง FACEBOOK : Fan page และที่หน้า Web siteใหม่ของเราที่ www.bfm.co.th ครับ


ชื่อ,เครื่องหมายการค้า,ภาพประกอบทั้งหมด เป็นลิขสิทธิ์ของเจ้าของและอยู่ภายใต้การคุ้มครองของเครื่องหมายการค้าหรือลิขสิทธิ์ของแต่ละเครื่องหมายการค้า นำมาใช้เพื่อเป็นกรณีศึกษาเท่านั้น

เนื้อหาข้อเขียนบทความ สงวนสิทธิ์ทุกกรณี