สวัสดีท่านสมาชิก BFM Club, แล้วก็ช่องทาง Facebook: Fan page ทุกท่าน กลับมาพบกันอีกแล้วครับ พาชมตะลุยดูอาคารที่น่าสนใจในประเทศกันอีกครั้งนะครับ วันนี้ผมขออาสาพาทุกท่านไปเยี่ยมชม ท่าอากาศยานที่เป็นที่รักของคนทั้งประเทศ ทั้งลูกเด็กเล็กแดง ยิ่งในสมัยผมนี่เดินทางไปทั้งในและต่างประเทศก็ต้องมาใช้บริการที่ท่าอากาศยานแห่งนี้จากกรุงเทพทั้งหมดทุกคนล่ะครับ
สถานที่แห่งนี้จึงกลายเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์การพัฒนาผลงานทางสถาปัตยกรรมของประเทศไทย เพราะเป็นสนามบินนานาชาติแห่งแรกของประเทศ หลังจากยกเลิกการใช้งานสนามบินสระปทุมครับ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ท่าอากาศยานนานาชาติ ดอนเมืองครับ
ภายหลังจากมหาอุทกภัยปี 2554 ที่ผ่านมา ณ วันนี้ผมก็ไม่เชื่อว่าเป็นภัยธรรมชาติที่ได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับสนามบินดอนเมืองของเราอย่างเปรียบไม่ได้ หลายท่านที่อพยพคงได้ติดตามข่าวคราวเช่นเดียวกันกับผม ที่น้ำท่วมเต็มพื้นที่สนามบินจนกระทั่งถึงใต้ท้องเครื่องบิน ซึ่งไม่ใช่แค่ 1-2 เมตรนะครับ แต่ท่วมสูงมากกว่า 3 เมตรทีเดีย
หลังจากที่เหตุการณ์มหาอุทกภัยได้ผ่านพ้นไปแล้ว ความเสียหายเหล่านั้นก็มิได้ไหลตามน้ำไปครับ ดังนั้นเมื่อเหตุการณ์สงบลงแล้ว ทางราชการท่านจึงมีมติให้ทำการซ่อมแซมให้อาคารสนามบินดอนเมืองที่รู้จักกันดีนี้ ทำการปรับปรุง ซ่อมแซม สร้างเพิ่มเติมให้มีความพร้อมในการกลับมาเป็น ท่าอากาศยานที่รักของทุกคน โดยเป็นสนามบินคู่ขนานกับ ท่าอากาศยานนานาชาติ สุวรรณภูมิ รองรับการเดินทางในประเทศและมีสายการบินต้นทุนต่ำเข้ามาเช่าพื้นที่อย่างมากมายคับคั่งเหมือนที่ดอนเมืองเคยเป็นมาเมื่อครั้งอดีต และฟื้นฟูความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ในปีที่ผ่านมาครับ
การก่อสร้าง ซ่อมแซมเริ่มต้นขึ้นเมื่อต้นปี 2555 นี้เอง และเริ่มเปิดใช้งานอาคารท่าอากาศยานดอนเมืองอย่างเป็นทางการ “ใหม่” ในเชิงพาณิชย์อีกครั้ง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ขณะที่กำลังปั่นต้นฉบับอยู่นี้ก็ผ่านมาเพียงเดือนเศษๆเองนะครับ
การกลับมาครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมแล้ว ก็ยังมีการปรับปรุงเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้อาคาร และอำนวยความสะดวกให้กับนักเดินทางอย่างเต็มที่ตามเทคโนโลยีปัจจุบัน นับเป็นสนามบินคู่แฝดที่ก้าวหน้าไม่น้อยกว่าสนามบินน้องสาวอย่างสุวรรณภูมิเลยครับ นอกจากนี้รูปลักษณ์ภายนอกอาคารยังได้รับการปรับปรุงใหม่ให้มีความทันสมัย โดยการนำเอาแผ่นอลูมิเนียม คอมโพสิท มาตกแต่งอาคารเพิ่มเติมอีกด้วย แน่นอนครับว่าความปลอดภัยจากเพลิงไหม้และความปลอดภัยตามมาตรฐานนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับอย่าง NFPA 285 ก็ถูกนำมาพิจารณาในการคัดเลือกวัสดุด้วยครับ และแน่นอนว่าแผ่นอลูมิเนียม คอมโพสิท ไส้กลางกันไฟที่ผ่านตามมาตรฐาน NFPA 285 ที่นำมาตกแต่งอาคารก็ต้องเป็นวัสดุที่สามารถผ่านมาตรฐานที่เข้มงวดเหล่านั้นได้
ขอขอบคุณการวิจัยและพัฒนาโดยมุ่งหวังด้านความปลอดภัยจากเพลิงไหม้ที่ ALPOLIC/fr พัฒนามาตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีครับ แผ่นอลูมิเนียม คอมโพสิท ไส้กลางกันไฟ ALPOLIC/fr จึงผ่านมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับให้ใช้กับสนามบินนานาชาติหลายๆแห่งทั่วโลก เหมือนที่เคยแนะนำกันไปในฉบับก่อนๆนะครับ ที่สนามบินดอนเมืองใหม่ของเราก็เช่นกัน มีการติดตั้งแผ่น ALPOLIC/fr เพื่อใช้ในการตกแต่งอาคารผู้โดยสาร และคุณสมบัติที่สามารถทนทานต่อการถูกน้ำท่วมเป็นระยะเวลานานก็เป็นอีกคุณลักษณะหนึ่งที่ถูกนำมาพิจารณาเพื่อการเลือกใช้
ด้วยความหลากหลายและพร้อมตอบสนองต่อการใช้งาน ในส่วนพื้นที่อาคารผู้โดยสารจึงมีการเลือกใช้แผ่นอลูมิเนียม คอมโพสิท ไส้กลางกันไฟ ALPOLIC/fr เป็นพื้นที่ทั้งส่วนตกแต่งผนังและงานฝ้าเพดานให้มีความเรียบร้อยสวยงาม ALPOLIC/fr ยังให้การรับประกันคุณภาพของระบบสีเคลือบ FEVE ลูมิฟลอน เบสด์ โดยตรงจากโรงงาน Mitsubishi Plastics Inc. ผู้ผลิตที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลานานถึง 20 ปี ตอบสนองด้านความทนทานและคุ้มค่าในระยะยาว และเทคนิคการผลิตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ ALPOLIC/fr จึงทำให้เราเป็นบริษัทเดียวที่สามารถให้การรับประกันคุณภาพแผ่นได้ยาวนานถึง 10 ปีเต็ม แม้ว่าการติดตั้งจะไม่ได้พับขอบเช่นเดียวกับการติดตั้งแบบปกติ หรือการนำแผ่นไปเจาะรู นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม หรืออาคารเขียวที่ ALPOLIC/fr ของเรา สามารถช่วยเพิ่มคะแนนในการออกแบบให้กับอาคารของท่านตามมาตรฐาน TREES ในประเทศไทย ได้มากที่สุดถึง 20 คะแนนครับ
ภายหลังจากการเปิดใช้ท่าอากาศยานหรือสนามบินดอนเมืองเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา นักเดินทางและผู้โดยสารทั้งไทย-เทศก็ยังให้การต้อนรับ การกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ของสนามบินดอนเมืองอย่างสมศักดิ์ศรีครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับผลงานที่ผ่านมาที่นำมาแนะนำกันในฉบับนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านสมาชิกที่รักจะได้มีแนวทางในการเลือกใช้แผ่น ALPOLIC/fr ของเราไปใช้กับโครงการของท่าน ฉบับนี้ลาไปก่อน พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ
ประวัติสนามบินดอนเมืองที่น่าสนใจ
ท่าอากาศยานดอนเมือง (ชื่อเดิม คือ ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงเทพ) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า สนามบินดอนเมือง ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 โดยปิดตัวลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 วันเดียวกับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้งาน โดยสนามบินดอนเมืองถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบิน ฝึกบิน และสำหรับจอดเครื่องบินส่วนตัวของบุคคลสำคัญ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 มีการนำเที่ยวบินภายในประเทศบางเที่ยวบินมาลงที่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง หลังจากพบปัญหาหลายอย่างที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
นับตั้งแต่การยกเลิกใช้สนามบินสระปทุม ส่วนหนึ่งของสนามม้าราชกรีฑาสโมสร ซึ่งถือเป็นสนามบินแห่งแรกของประเทศไทย เนื่องจากสาเหตุคับแคบ มีเนื้อที่จำกัด และมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ไม่เหมาะสม ทางราชการจึงได้คิดหาสถานที่ใหม่ที่มีบริเวณกว้างขวาง เป็นพื้นที่ดอน น้ำไม่ท่วม ไม่ห่างไกลจากพระนคร และเป็นพื้นที่ที่สามารถพัฒนาเป็นสนามบินขนาดใหญ่ต่อไปได้ในอนาคต โดยมีนายพันโท พระเฉลิมอากาศ หัวหน้านายทหารนักบินชุดแรกของประเทศไทย ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายเป็น พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ ทำหน้าที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการแสวงหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะสร้างเป็นสนามบินถาวร
จากการบินสำรวจทางอากาศได้เห็นที่นาซึ่งเป็นที่ดอนทางตอนเหนือของอำเภอบางเขนเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม จึงได้สำรวจทางพื้นดิน ได้ความว่า พื้นที่บริเวณนั้นชาวบ้านเรียกว่า "ดอนอีเหยี่ยว" เพราะมีฝูงเหยี่ยวบินมารวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ในบริเวณที่ดอนนี้ ทั้งยังมีทางรถไฟสายเหนือวิ่งผ่าน พื้นที่นี้อยู่ห่างจากสนามบินสระปทุมไปทางเหนือใช้เวลาบินประมาณ 13 นาที (ด้วยเครื่องบินเบรเกต์สมัยนั้น) คิดเป็นระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตรเศษ บริเวณนี้เป็นที่นามีหลายเจ้าของ เช่น ที่นาของหมื่นหาญ ใจอาจ (พู่ จามรมาน) ซึ่งท่านผู้นี้มีที่นาจำนวนมาก ท่านได้ยกที่ดินส่วนหนึ่งให้สร้างเป็นวัด สมัยนั้นยังไม่มีชื่อ ชาวบ้านเรียกว่า "วัดดอนอีเหยี่ยว" ต่อมาได้มีการจัดตั้งกองบินขึ้นที่บริเวณนี้ และเรียกกันว่า "ดอนเมือง" วัดนี้จึงถูกเรียกว่า "วัดดอนเมือง" ตามชื่อสนามบินไปด้วย นอกจากนั้นยังมีที่นาของพระยาอร่ามมณเฑียร และราษฎรคนอื่นๆอีกหลายเจ้าของ บางส่วนเป็นที่ดินของกรมรถไฟหลวง นายพันโท พระเฉลิมอากาศ ได้รายงานขึ้นตามลำดับชั้น เพื่อขอจัดสร้างสนามบินถาวรขึ้นที่บริเวณนี้ กระทรวงกลาโหมจึงได้จัดซื้อบ้าง ขอเวนคืนบ้าง และมีผู้บริจาคให้เป็นประโยชน์แก่ทางราชการบ้าง
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 กรมเกียกกายทหารบกดำเนินการแล้วเสร็จ ส่งมอบให้กรมจเรการช่างทหารบก และเรียกชื่อสนามบินนี้ว่า "สนามบินดอนเมือง"
วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 กระทรวงกลาโหมได้ออกคำสั่งตั้งกองบินทหารบกขึ้น และย้ายไปเข้าที่ตั้งถาวรที่สนามบินดอนเมือง นับเป็นรากฐานที่มั่นคงของกิจการการบินของไทยที่ได้เริ่มต้นขึ้น ณ ที่นี้ กองทัพอากาศได้ถือเอาวันที่ 27 มีนาคม เป็นวันที่ระลึกกองทัพอากาศ ในปี พ.ศ. 2483 กองทัพอากาศได้จัดตั้งกองการบินพลเรือนขึ้น ดำเนินงานเกี่ยวกับการบินระหว่าง ประเทศ และในปี พ.ศ. 2491 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกรมการบินพลเรือน ได้ปรับปรุงสนามบินดอนเมือง และเรียกชื่อว่า ท่าอากาศยานดอนเมือง (อังกฤษ : Don Mueang Airport) จัดเป็นท่าอากาศยานสากล จนกระทั่งวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ท่าอากาศยานกรุงเทพ (อังกฤษ : Bangkok Airport ต่อมาเปลี่ยนเป็น Bangkok International Airport)
ต่อมาในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว ส่งผลทำให้ท่าอากาศยานดอนเมือง ที่สังกัดกับกรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ ต้องถูกโอนถ่ายงานทั้งหมดมาสังกัดกับ ทอท.แทน
แต่ในเมื่อมีการย้ายเที่ยวบินพาณิชย์ทั้งหมดไปสู่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นเหตุให้การบริการสำหรับเที่ยวบินเพื่อการพาณิชย์ทั้งหมดหยุดตัวลง โดยเที่ยวบินระหว่างประเทศเที่ยวสุดท้ายที่บินออกจากสนามบินดอนเมือง เป็นของสายการบิน Qantas ประเทศออสเตรเลีย แต่อย่างไรก็ดี เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 มติของคณะรัฐมนตรีในสมัย พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นก็ได้มีความต้องการที่จะให้มีการเปิดบริการที่ท่าอากาศยานดอนเมือง อีกรอบหนึ่ง เนื่องมาจากมีการพบปัญหาหลายประการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และเพื่อการขยายและพัฒนาประสิทธิภาพของดอนเมืองให้มีความคล่องตัว รองรับในระบบการอากาศยาน นอกเหนือจากการบินพาณิชย์แล้ว ทำให้มีการกลับมาเปิดให้บริการอีกรอบหนึ่งและกลับมาใช้ชื่อว่า ท่าอากาศยานดอนเมือง เหมือนเช่นเดิม (อังกฤษ : Don Mueang International Airport) ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา
โดย ศศิน "เต้ย" วับูลบัณฑิตยกิจ
ผู้จัดการฝ่ายผลิตภภัณฑ์ บริษัท บี.เอฟ.เอ็ม. จำกัด
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่เอื้อเฟื้อข้อมูล : http://th.wikipedia.org/wiki/ท่าอากาศยานดอนเมือง
เสนอแนะเพิ่มเติมได้ที่ sasin@bfm.co.th และพบช่องทางใหม่ที่เราจะติดต่อถึงกัน ผ่านทาง Fan page FACEBOOK และที่หน้า Web siteใหม่ของเราที่ www.bfm.co.th/ ครับ
ชื่อ,เครื่องหมายการค้า,ภาพประกอบทั้งหมดเป็นลิขสิทธิ์ของเจ้าของและอยู่ภายใต้การคุ้มครองของเครื่องหมายการค้าหรือลิขสิทธิ์ของแต่ละเครื่องหมายการค้า นำมาใช้เพื่อเป็นกรณีศึกษาเท่านั้น เนื้อหา, ข้อเขียน, บทความ สงวนสิทธิ์ทุกกรณี