น้ำลดแล้ว จะมาใหม่อีกแล้ว อาคารเป็นไงกันบ้าง : After The Big Flood

โดย ศศิน "เต้ย" วิบูลบัณฑิตยกิจ ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัท บี.เอฟ.เอ็ม. จำกัด

สวัสดีท่านสมาชิก BFM Club ทุกท่าน กลับมาพบกันอีกแล้วหลังน้ำลดไป 5 เดือนแล้วนะครับ รอบใหม่ก็กำลัง จะมาเยือนกันอีกในไม่ช้า หวังว่าทุกท่านจะได้เตรียมการรับมือกันไว้แล้ว เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความ เสียหายมหาศาลอีกครั้ง หลายท่านคงมีคำถามต่อเนื่องจากฉบับที่แล้วว่า อาคารที่ประสบภัยพิบัติจากน้ำท่วมใหญ่ มีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน ซ่อมแซมกันอย่างไร ตอนนี้แล้วเสร็จกันรึยัง ผมเองเลยขออาสาพาไปเยี่ยมชมตัว อย่างอาคารที่ผ่านภัยน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมากันครับ ว่าปัจจุบันเค้าทำกันอย่างไร ซ่อมกันรึยัง แน่นอนครับว่าอาคารนั้น จะต้องมีการใช้แผ่นอลูมิเนียม คอมโพสิท ALPOLIC/fr ของเรามาให้พูดถึงกันด้วยครับ

ณ อาคารแห่งหนึ่งในสถาบันชื่อดังแห่งหนึ่ง ภัยน้ำท่วมที่ผ่านมาทำความเสียหายให้กับอาคารและกลุ่มอาคารเหล่านี้ อย่างมากมาย พื้นที่น้ำท่วมเกิดขึ้น 100 % ของพื้นที่ คือ ไม่เหลือพื้นที่แห้งเลยสักตารางนิ้วเดียวในสถาบัน น้ำลึก โดยเฉลี่ย 2.50 เมตร และโหดที่สุด คือ ท่วมสูงถึง 3.00 เมตร นั่นมันมิดหัวเลยครับ น้ำท่วมแช่มากกว่า 8 สัปดาห์ แน่นอนว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นกับอาคารมากมายจนประเมินค่าได้ยาก แต่ในฐานะของ BFM Club ที่เสนอเรื่องราว มาให้ติดตามกันก็ต้องมี ALPOLIC/fr เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอยู่แล้วล่ะครับ


ระดับไหนเนี่ย ?

จากภาพก็คงเห็นได้ชัดเจนครับว่า ระดับน้ำที่ท่วมมากกว่า 2.50 เมตร ตลอดทั้งพื้นที่สถาบันและทำความเสียหายมากกว่า 670 ล้านบาท เพราะหลายอาคารมีอุปกรณ์ที่สำคัญอยู่ชั้นที่ 1 หรือชั้นใต้ดิน ซึ่งก็เสียหายทั้งหมดตามที่ได้ประเมินไว้ แม้ว่าจะมีความพยายามขนอุปกรณ์ที่สำคัญบางส่วนขึ้นไว้ที่ชั้น 2 หรือชั้นบนๆขึ้นไปได้สำเร็จ แต่อุปกรณ์บางอย่างก็ไม่สามารถขนย้ายได้เนื่องจากน้ำหนักและการติดตั้งที่ต้องยึดติดตายอยู่กับที่ อุปกรณ์เหล่านั้นแหละครับที่เสียหายแทบทั้งหมด ถึงแม้บางส่วนจะเคลื่อนย้ายออกไปได้ทันท่วงที แต่ศัตรูร้ายที่ตามมาก็คือ เชื้อราและสิ่งสกปรกที่มากับน้ำท่วมครับ บางอาคารสภาพภายในก็เกิดความเสียหายทั้งหมดจากเชื้อรา เช่นเดียวกัน แม้ว่าจะไม่มีอุปกรณ์สำคัญๆอยู่ที่ชั้นล่างก็ตามที


แล้ววัสดุก่อสร้างอาคารที่ถูกน้ำท่วมเป็นอย่างไร ??

หลังจากอาคารเหล่านี้แช่น้ำมากกว่า 8 สัปดาห์จนถึงวันที่น้องน้ำจากไป เหลือไว้ก็แต่ความเศร้าใจและความเสียหายอย่างใหญ่หลวง อาคารที่เริ่มแห้งก็เริ่มแสดงความเสียหายออกมา เนื่องจากการแช่น้ำมากกว่า 2 เดือนนั้น วัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่ไม่ถูกทำเกิดความเสียหาย ก็ต้องมีเสื่อมสภาพกันไป รอการมาบูรณะเพื่อให้อาคารเหล่านั้นกลับมาใช้งานได้ดังเดิม

ร่องรอยความเสียหายก็สามารถพบเห็นกันได้โดยทั่วไป เช่น สีลอกล่อน พื้นที่เกิดการทรุดตัว ต้นไม้ใบหญ้ายืนตายกันแทบหมดสถาบัน นอกจากพันธุ์ที่ทนน้ำเท่านั้น เราจะพาไปดูสภาพโดยทั่วไปกันนะครับว่าความเสียหายเหล่านั้น มีสภาพอย่างไรภายหลังน้ำลด

โดยส่วนใหญ่สภาพที่พบ เกิดความเสียหายจากน้ำที่พบกันโดยทั่วไป คือ สีลอกล่อน สีเริ่มซีดจาง วัสดุผุพังหรือเปื่อยยุ่ยจากการกัดเซาะของน้ำ ทิ้งคราบสกปรกที่ยากจะกำจัดออก เชื้อราและตะไคร่น้ำ ทั้งหมดต้องมีการซ่อมบำรุงทั้ง รื้อทิ้ง สร้างใหม่หรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องเริ่มทาสีกันใหม่ล่ะครับ


แล้ว ALPOLIC/fr ล่ะ เสียหายกับคนอื่นด้วยมั้ย???

หลังจากเดินสำรวจ ใจตุ้มๆต่อมๆ ผมเองก็เดินมาถึงอาคารที่เลือกใช้แผ่นอลูมิเนียม คอมโพสิท ไส้กลางกันไฟ ALPOLIC/fr ของเราในการห่อหุ้มและตกแต่งอาคาร พลางก็คิดอยู่ในใจว่า เอาล่ะวะ สงสัยวันนี้คงจะต้องเปลี่ยนให้เค้าใหม่เหมือนกัน เพราะแช่น้ำซะ 2 เดือนมันก็ต้องมีเสียหายกันบ้าง แต่เมื่อมาถึงอาคารดังกล่าว อุ๊! บ๊ะ ไม่น่าเชื่อ แผ่นเรามันไม่เสียหายสักแผ่นจากน้ำท่วมเลยหรือนี่ เมื่อมาส่องดูใกล้ๆก็เริ่มเห็นได้ชัดเจนขึ้นมากครับ เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุที่ใช้กันโดยทั่วไปที่อยู่ด้านข้างๆกัน

เปรียบเทียบกันระหว่างแผ่นอลูมิเนียม คอมโพสิท ALPOLIC/fr กับวัสดุก่อสร้างที่ใช้งานกันทั่วไป จะพบว่าแผ่น ALPOLIC/fr ของเราไม่เกิดความเสียหายที่ตรวจพบได้ด้วยตาเปล่า แม้ว่าจะผ่านการทำความสะอาดมาแล้ว เพื่อให้สถาบันสามารถเปิดการเรียน การสอนได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด จากภาพก็จะเห็นได้ว่า น้ำยังคงความเสียหายไว้กับเสาคอนกรีตด้านข้างแผ่น ALPOLIC/fr แม้ว่าจะผ่านการทำความสะอาดมาแล้วก็ตาม ในกรณีที่ใช้น้ำยาขจัดคราบเข้มข้นก็อาจเกิดสภาพอย่างที่เห็น แต่คราบเหล่านี้ก็ยังฝังแน่นติดกับอาคารโดยต้องทำการซ่อมแซมเพิ่มเติม ทั้งทาสีทับหรือหาวัสดุอื่นมาหุ้มอาคารแทน


แล้ว ALPOLIC/fr รอดมาจากสถานการณ์เหล่านี้ได้อย่างไร ????

เพื่อให้ท่านสมาชิกหายสงสัย ผมเองก็กลับไปทบทวนความรู้ที่มีอยู่เดิมนำมาเสนอท่านๆกันอีกครั้งหนึ่งครับ โดยขออนุญาต อธิบายเป็นข้อๆ เพื่อตอบปัญหานะครับ

  1. แผ่นอลูมิเนียม คอมโพสิท ไส้กลางกันไฟ ALPOLIC/fr เป็นแผ่นคอมโพสิท ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีที่ทันสมัยที่สุดและมีการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวดก่อนมาถึงมือทุกท่าน ดังนั้นปัญหาที่เกิดความเสียหายของแผ่นอลูมิเนียมลอกล่อนออกจากไส้แกนกลางจึงไม่เกิดขึ้น ด้วยวิธีการผลิตที่คงคุณภาพและเป็นเทคนิคเฉพาะ ทำให้แผ่นถึงแม้จะจมน้ำอยู่กว่า 2 เดือนก็ไม่เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น
  2. ไส้แร่แกนกลางกันไฟ ไม่สลายเป็นผงตามน้ำไปด้วย ก็เนื่องจากกระบวนการผลิตที่เป็นความลับเฉพาะอย่างหนึ่ง เรื่องคุณสมบัติการยึดเหนี่ยวของไส้แกนกลางกันไฟเอง และระหว่างไส้แกนกลางกับผิวอลูมิเนียม ผลคือ เราสามารถให้การรับประกันเรื่องปัญหาแผ่นแตกและหลุดล่อนได้มากถึง 10 ปีเต็ม และผ่านการทดสอบภาคสนามที่ประเทศไทยในกรณีจมน้ำอยู่กว่า 2 เดือนมาแล้วครับ (การทดสอบนี้ไม่มีใครอยากให้เกิดหรอกครับ)
  3. ประสิทธิภาพของระบบเคลือบสี ฟลูโรโพลิเมอร์แบบ FEVE ลูมิฟลอน เบสด์ ที่สามารถสร้างความมันเงาได้สูง สิ่งสกปรกเกาะติดได้ยาก ทำความสะอาดได้ง่ายและมีความทนทานสูง แม้ในสภาวะที่รุนแรงของสภาพภูมิอากาศ และเช่นเคยครับ ผ่านการทดสอบภาคสนามที่ประเทศไทยเราเช่นเดียวกับข้อข้างบน สามารถให้การรับประกัน

ได้ยาวนานถึง 20 ปีเต็มเป็นรายแรกของโลก

ด้วยองค์ประกอบที่โดดเด่น 3 ประการนี้ ทำให้รายงานความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมกับแผ่น ALPOLIC/fr ของเรา เท่ากับ 0 ครับ สรุป คือ ล้าง เช็ด ก็ใช้งานได้ดังเดิม ไม่ต้องลงทุนซ่อมแซมความเสียหายเลย

การพาทัวร์ดูสภาพหลังน้ำลดของเหล่าอาคารที่จมน้ำมากกว่า 2 เดือนนี้ คงพอให้ท่านสมาชิกเห็นภาพถึงความคุ้มค่าทั้งในระยะสั้นและยาวกับการเลือกใช้สินค้าที่มีคุณภาพตัวจริงกันนะครับ ขอขอบคุณสถาบันที่เป็นที่รักของเรา ท่านที่เอื้อเฟื้อสภาพอาคารที่ผ่านการทดสอบภาคสนามแบบบังคับให้เราพิสูจน์ความทนทานกัน และน่าจะพอเป็นแนวทางในการต่อสู้หลังน้ำลดได้นะครับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าปีนี้ เราท่านคงไม่ต้องเผชิญกับภัยพิบัติน้ำท่วมที่นำมาซึ่งความเดือดร้อน เสียหายกันอีกครั้งนะครับ หากพอมีเวลาเตรียมตัวก็คงพอจะหาหนทางแก้ไขและป้องกันกันได้ทันท่วงที มีข้อปรึกษาประการใดก็เชิญที่หลากหลายช่องทางการติดต่อระหว่างเราและท่านๆนะ ครับ สวัสดีครับทุกท่าน ขอให้สุขภาพดีถ้วนหน้า ปราศจากน้ำท่วมตลอดปีและตลอดไปครับ สวัสดีอีกทีจ้า

โดย ศศิน "เต้ย" วิบูลบัณฑิตยกิจ 
ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัท บี.เอฟ.เอ็ม. จำกัด

เสนอแนะเพิ่มเติม ได้ที่ sasin@bfm.co.th และพบช่องทางใหม่ที่เราจะติดต่อถึงกัน 
ผ่านทาง Fan page FACEBOOK และที่หน้า Web siteใหม่ของเราที่ www.bfm.co.th ครับ

ชื่อ,เครื่องหมายการค้า,ภาพประกอบทั้งหมดเป็นลิขสิทธิ์ของเจ้าของและอยู่ภายใต้การคุ้มครอง
ของเครื่องหมายการค้าหรือลิขสิทธิ์ของแต่ละเครื่องหมายการค้า นำมาใช้เพื่อเป็นกรณีศึกษาเท่านั้น
เนื้อหา, ข้อเขียน, บทความ สงวนสิทธิ์ทุกกรณี