ความทนไฟ ของแผ่นอลูมิเนียม คอมโพสิท

ความทนไฟ

ไส้แกนกลางของแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิท ALPOLIC มีคุณสมบัติพิเศษในการป้องกันไฟและไม่ลามไฟ โดยผ่านการทดสอบความทนไฟจากสถาบันชั้นนำของโลก ที่ได้มาตรฐานและได้การยอมรับในระดับสากล  

การทดสอบการกันไฟ

1. การทดสอบในระดับใหญ่ เป็นการทดสอบทั้งวัสดุและระบบผนังอาคารใหญ่ด้านความทนไฟ

1.1 NFPA 285 เป็นการทดสอบมาจากหน่วยงานป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ

(National Fire Protection Agency) ขนาดผนังในการทดสอบมีความกว้าง 4 m และความสูงอยู่ที่ 5 m โดยจะมีแหล่งไฟสองส่วน แหล่งไฟแรกเป็นหัวจุดอยู่ด้านใน และแหล่งที่สองเป็นหัวจุดไฟด้านนอก ซึ่งจะทำการจุดหลังจากแหล่งไฟแรก 5 นาที โดยการทดสอบใช้แหฃ่งไฟสองที่นี้จะช่วยประเมินพฤติกรรมของวัสดุจากการเผาและการหยดของวัสดุ

1.2 BS 8414 เป็นการทดสอบที่ได้รับความนิยมสูงสุดในโลกขณะนี้

หลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ Grenfell รัฐบาลอังกฤษได้ให้ความสำคัญในการทดสอบวัสดุคอมโพสิทมากขึ้น และได้คิดค้นวิธีทดสอบ BS 8414 เป็นการทดสอบขนาดใหญ่ โดยติดตั้งผนังเป็นรูปตัว L ความกว้างของผนังทดสอบอยู่ที่ 2.5 m ความสูงอยู่ที่ 8 m ด้านล่างมีช่องสำหรับจุดไฟ การทดสอบทำเพื่อประเมินผลพฤติกรรมของไฟในระบบเปลือกอาคาร โดยการวัดการลามของไฟ 3 หัวข้อคือ 

1. การลามไฟด้านนอกอาคาร

2. การลามไฟด้านในอาคาร 

3. พฤติกรรมเชิงกล 

โดยการทดสอบจะใช้แหล่งความร้อนที่ 4,500 MJ เป็นเวลา 30 นาที โดยเกณฑ์การผ่านคืออุณหภูมิของผิวผนังและช่องว่างระหว่างวัสดุหุ้มกับโครงสร้างที่ความสูง 5 เมตรจากแหล่งไฟจะต้องไม่เกิน 600 องศา และไฟลามไม่เกินความสูง 8 m ซึ่ง ALPOLIC/fr และ ALPLIC A2 สามารถผ่านการทดสอบ BS 8414 ได้ทั้งสองผลิตภัณฑ์


2. การทดสอบในระดับกลาง เป็นการทดสอบในระดับระบบผนังอาคารด้านความทนไฟ

2.1 BS476-Part & Part 7 คือการทดสอบการลามไฟที่แพร่หลายในประเทศอังกฤษ

  • Part 6 เป็นการทดสอบด้วยแผ่นอะลูมิเนียมคอมโพสิทขนาด 22.8 cm x 22.8 cm จากในภาพแท่งที่เห็นสองคือเหล็กปล่อยความร้อนโดยใช้ไฟฟ้า และมีท่อเตาก๊าซอยู่ด้านล่าง
  • Part 7 นั้นเป็นการทดสอบการลามบนผิวหน้าโดยใช้การแผ่รังสีความร้อนที่ผิวหน้าของแผ่นที่ 32 kilowatt ต่อตารางเมตรที่ 75 จากแผงแผ่รังสี

2.2 ISO 13785 – 1 ในประเทศสาธารณรัฐเช็กใช้การทดสอบนี้เพื่อดูปฏิกิริยาของเปลือกอาคารกับไฟ

ขนาดวัสดุที่ทดลองคือ1.2 เมตร x 2.4 เมตร ส่วนขนาดของแผ่นด้านข้างจะมีขนาด 0.6 x 2.4 เมตร แหล่งไฟมาจากหัวเผาก๊าซโพรเพนที่ความร้อน 100 kw เป็นระยะเวลา 30 นาที เกณฑ์การผ่านการทดสอบคือความเสียหายต้องไม่เกินกว่า 50 cm จากแหล่งไฟ

2.3 EN 13823 เป็นการทดสอบสำหรับ European Class

โดยใช้วิธีการ Single Burning Item (SBI) หรือการเผาไหม้ของวัสดุชิ้นเดียว โดยการทดสอบขนาดกลางนี้ใช้เพื่อดูพฤติกรรมของวัสดุต่อการเผาไหม้  บางกรณีใช้ดูกับระบบการติดตั้งด้วย แต่ส่วนใหญ่ใช้กับแผ่นคอมโพสิทอย่างเดียว โดยใช้แผ่นขนาดกว้าง 1 m และสูง 1.5 ท และมีแผ่นด้านข้าง ก่อนที่จะมีการทดสอบจะมีการปล่อยก๊าซเข้ามาก่อนฝั่งหนึ่ง และมีการวัดค่าความร้อน จากนั้นจะปล่อยก๊าซเข้ามาที่หัวจุดอีกฝั่งหนึ่ง โดยจะมีการวัดการปล่อยความร้อนที่เพิ่มเติมเข้ามาจากแผ่นคอมโพสิทที่มีการทดสอบ การทดสอบนี้ใช้กับ European Class A2, B, C, D 

3. การทดสอบในระดับเล็ก เป็นการทดสอบในระดับวัสดุด้านความทนไฟ

3.1 ISO 1182 เป็นการทดสอบการติดไฟ เพื่อประเมินไส้ของคอมโพสิท

โดยวิธีการคือไส้จะถูกเผาในเตาหลอมที่อุณหภูมิ 750 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 นาที หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับข้อกำหนด โดยข้อกำหนดที่ใช้กันส่วนใหญ่คือ Euroclass A1 คือการเพิ่มของอุณหภูมิเมื่อมีการเผาไหม้ในเตาหลอมต้องเพิ่มขึ้นไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส หรือความร้อนรวมไม่เกิน 780 องศาเซลเซียส ในกรณีของ A2 ความร้อนที่เพิ่มขึ้นไม่เกิน 50 องศาเซลเซียส  และในบางกรณีต้องดูการสูญเสียมวลหรือน้ำหนักในการทดสอบ 

3.2 ISO 1716 คือการทดสอบเพื่อดูศักยภาพความร้อน

ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ค่าความร้อนในห้องทดลอง โดยใช้ตัวอย่างไส้ 10 หรือ 50 กรัม เพื่อทำการประเมินโดยการวัดศักยภาพความร้อนของไส้ สำหรับการจัดหมวดหมู่ตาม Euroclass

3.3 ISO 5660-1 คือการทดสอบแบบ Cone Calorie Meter Test

ซึ่งถูกใช้ในกฎหมายควบคุมอาคารเรื่องอัคคีภัยในประญี่ปุ่นเพื่อดูว่าไส้เป็นวัสดุที่ติดไฟได้หรือไม่ โดยผลิตภัณฑ์สามารถได้การรับรองว่าไม่ติดไฟจากการทดสอบนี้ โดยใช้ตัวอย่าง 10 x 10 cm นำมารับความร้อนจาก Cone Heater ที่ปล่อยพลังงาน 50 กิโลวัตต์ต่อตารางเมตร โดยอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 650 องศาเซลเซียส (เป็นอุณหภูมิที่ใกล้จุดหลอมเหลวของอลูมิเนียม)